วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เข้าชั้นเรียนครั้งที่6

วันที่  18 กรกฎาคม 2555 

-  อาจารย์พูดถึงการวัดผล ประเมินผล ของนักศึกษา

- อาจารย์ให้ออกไปจับฉลากประเภทนิทาน มีดังนี้ ... 
     นิทานทั่วไป,  BIG BOOK  และ นิทานออนไลน์
  **โดยกลุ่มไหนที่จับได้นิทานประเภทใด ให้เอาไปเล่าให้เด็กฟังตามอายุที่จับฉลากได้ 
ให้มี 1 คนคอยจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก  ต้องมีเนื้อหาดังนี้
        **  ชื่อ - นามสกุล, อายุ, สิ่งที่เราทำ,  สิ่งที่เกิดขึ้น, พฤติกรรมของเด็ก, สะท้อน(วิเคราะห์ + ที่มา) และประโยคที่ได้ถามเด็ก  // ต้องมีภาพประกอบ
        
- โดยนำเสนอในสัปดาห์หน้า ควรเตรียมพร้อมการนำเสนอมาอย่างดี มีการคำพูด เตรียมเนื้อหา และบุคลิกภาพระหว่างการนำเสนอ 

อาจารย์ให้นำเสนองานการสัมภาษณ์เเละการวิเคราะห์เด็กที่ค้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา...

เข้าชั้นเรียนครั้งที่5

วันที่ 11 กรกฎาคม 2555


* วันนี้ให้นำเสนอ วิดีโอ + power point ที่ไปสัมภาษณ์เด็ก**
     
  เนื้อหาที่มีใน power point วิเคราะห์สัมภาษณ์ของเด็ก
          -  อธิบายพฤติกรรมของเด็ก ในขนาดที่เราสัมภาษณ์
          - บุคลิกภาพของเด็ก
          -  สรุปความเห็นของเราที่มีต่อเด็ก
          -  วิเคราะห์การใช้ภาษา 
** ในกลุ่มต้องหาคนจดบันทึกข้อเสนอแนะ  มีการเลื่อนนำเสนอวิดีโอเป็น วันที่ 18 ก.ค. 55


สิ่งที่อาจารย์แนะนำในห้อง 
          -  การพูดหน้าห้อง โดยที่เวลาพูดนำเสนอ หรือ รายงานหน้าห้อง ห้ามใส่ความรู้สึกของตัวเองลงไปในการพูดนำเสนอ 
          -  การแสดงสีหน้าในการนำเสนอ หรือ รับฟังสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนเสนอแนะ
          -  พยายามสร้างบรรยากาศในการนำเสนอ


ภาษาถิ่นน่ารู้
สารถี = คนขับรถ                                                     พีเระ  =  อะไรน่ะ ( ภาษา ภูไท )
เจม  = นก ( ภาษา ส่วย )                                         กระด่อกระเดี่ย  =  อะไรกันนักกันหนา
เอือด  =  เหมือก,ไม่สบายตัว,ชุ่มเหงื่อ                    เต้อ  = ใต้ ( ภาษา พวน )
เอิด  =  เล่นอะไรไม่รู้เรื่อง                                       ปอเดี๊ยะ  =  อาบน้ำ
มะเหะ  = บ้า( ภาษา อีสาน )                                    อ้อล้อ  =  ขี้เล่น,ตอแหล,แรด
ม๊ะน๋อแน๊  =  น้อยหน่า                                             ต่าบรี้  =  สวัสดี 
อามีน  =  สาธุ (ภาษา อิสลาม)


เพลงเด็กๆ  

เพลง แมงมุมลายตัวนั้น 

                                       แมงมุมลายตัวนั้น       ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
                                      วันหนึ่งมันเปียกฝน      ไหลลงจากบนหลังคา
                                      พระอาทิตย์ส่องแสง    ฝนแห้งเหือดไปลับตา 
                                      มันรีบไต่ขึ้นฝา           หันหลังมาทำตาลุกวาว
เพลง บ้านของฉัน
                                                 บ้านของฉัน         อยู่ด้วยกันมายหลาย

                                                           พ่อ แม่ ลูง ป้า        ปู่ ย่า ตา ยาย
                                                           มี ทั้ง น้า อา           พี่และน้อง  มากมาย
                                                           ทุกคนสุขสบาย      เราเป้นพี่น้องกัน

ฯลฯ
เพลง  โอ้เพื่อนรัก  (อาจารย์ให้แต่งในห้อง)
โอ้เพื่อนรัก   เรามาพบกัน
สวัสดี  สวัสดี
สบายดีหรือ  สบายดี
เรายินดี ที่ได้พบกัน  (ซ้ำ)

ภาพการทำกิจกรรม

เข้าชั้นเรียนครั้งที่4


4 กรกฎาคม 2555

การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
แบ่งได้ 3 อย่างตามความสำคัญคือ     เด็กปฐมวัย /  ภาษา / การจัดประสบการณ์ อธิบายได้ดังนี้

เด็กปฐมวัย แบ่งได้ 
1.) พัฒนาการ
       -  นักทฤษฎี  เช่น เพียเจต์ บรูเนอร์ เป็นต้น
       -  สมอง  คือ การซึมซับ และ การปรับครวามรู้ใหม่
2.) วิธีการเรียนรู้ (การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) 
       - การลงมือกระทำวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือการให้อิสระ   และครูต้องอำนวยความสะดวกให้  กับเด็กๆ 
       
ภาษา  แบ่งได้
1.) การฟัง
2.) การพูด
3.) การอ่าน
4.) การเขียน

การจัดประสบการณ์ เเบ่งได้ 
1.) หลักการจัด
2.) เลือกวิธีการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม
3.) วางแผนการจัดประสบการณ์
      - วัตถุประสงค์
      - ขั้นตอน (เรียงจากง่ายไปหายาก  และ   เรียงจากรูปธรรมไปหานามธรรม)
      - เทคนิด เช่น เกม เพลง นิทาน สื่อ สภาพแวดล้อม  บทบาท คำคล้องจอง  ฯลฯ
      - เขียนแผน 

เข้าชั้นเรียนครั้งที่ 3

27 มิถุนายน 2555


         ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม